X

ชื่นชม “ทีมอำเภอแม่แจ่ม” สร้างฝายชะลอน้ำ หมู่บ้านละ 1,000 ฝาย

15 ก.ย. 2566
680 views
ขนาดตัวอักษร

ปลัด มท. ชื่นชมทีมอำเภอแม่แจ่มน้อมนำแนวพระราชดำริจากนภา ผ่านภูผา สู่มหานทีด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ หมู่บ้านละ 1,000 ฝาย ใน 106 หมู่บ้าน ตั้งเป้า 106,000 ฝาย เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2566

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนการทำงานของกระทรวงมหาดไทยในการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมการเพื่อรับน้ำแล้งและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งได้พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2533 ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ความว่า “.. เราควรพิจารณาว่า ถ้าสามารถที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วม สกัดไว้ไม่ให้ลงมาท่วม ก็จะบรรเทาการท่วมและลดความเสียหาย ฉะนั้นการหาทางที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วมเอาไว้ได้ สำหรับให้เป็นน้ำที่ให้คุณที่ช่วยให้มีรายได้ ก็จะเป็นการดีเป็นทวีคูณ.. ..การที่จะทำโครงการที่แยบคาย เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายในการท่วมนั้น และเพิ่มพูนผลิตผลในหน้าแล้ง ก็ได้ผลสองเท่าตัว คือไม่ต้องใช้เงินแก้ไข หรือบรรเทาทุกข์ของประชาชน ซ้ำจะได้ให้ประชาชนทำกินได้ เพิ่มพูนขึ้นไปเกือบสองเท่า..”  อันหมายความว่า เมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยหรือเวลามีน้ำมาก เราแก้ปัญหาโดยการเร่งระบายน้ำออก แต่พอน้ำหายท่วมหรือน้ำแล้ง เราไม่มีน้ำไว้ใช้อุปโภค บริโภค และทำการเกษตร ดังนั้น หากเรามีที่ให้น้ำอยู่หรือมีที่กักเก็บน้ำ เราก็จะได้ประโยชน์ 2 ต่อ จึงเป็นที่มาของทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่โดยมีแหล่งน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญ เราต้องหาที่อยู่ให้น้ำ ทำให้น้ำมีที่ไป ช่วยบรรเทาการเกิดน้ำท่วม และใช้แหล่งน้ำมาทำประโยชน์ในการทำมาหากิน หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องเพิ่มพื้นที่ท้องอ่าง เพิ่มทุ่งกักเก็บน้ำและชะลอน้ำ โดยน้อมนำแนวพระราชดำรัสข้างต้นมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน เราทุกคนก็จะได้ประโยชน์ ตลอดจนช่วยลดความขัดแย้งในการต้องการใช้น้ำของพี่น้องประชาชนด้วย และนับเป็นความโชคดีของคนไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งมั่นในการ "สืบสาน รักษา และต่อยอด" และทรงอรรถาธิบายในเรื่อง "อารยเกษตร" กล่าวคือ คนไทยมีอาชีพเกษตรกร ซึ่งเราทำการเกษตร 365 วัน หรือทั้งปี แต่ประเทศไทยมีฤดูฝนเพียง 120 วัน (4 เดือน) ด้วยเหตุนี้ในช่วงวันที่เหลือนอกจากฤดูฝน เราจึงต้องบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน ตลอดจนถึงมีเพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพและการทำเกษตรกรรม โดยนำโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ที่มุ่งเน้นการจัดการน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดหนอง ขุดคลองไส้ไก่ ปลูกไม้ยืนต้น เพิ่มพื้นที่ป่าตามศาสตร์พระราชา ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นต้น

หนึ่งในพื้นที่ตัวอย่างที่สำคัญของการขับเคลื่อนแนวทางตามแนวพระราชดำริ คืออำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ภายใต้การนำของนายสุระวุธ จันทร์งาม นายอำเภอแม่แจ่ม ผู้เป็นผู้นำทีมบูรณาการในรูปแบบทีมอำเภอแม่แจ่มที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง โดยทางอำเภอแม่แจ่ม ได้ดำเนินการโครงการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามแนวทางพระราชดำริจากนภา ผ่านภูผา สู่มหานทีผ่านการขับเคลื่อนอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยการทำให้ทุกหมู่บ้านในอำเภอแม่แจ่มพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ด้วยการทำให้ทุกหมู่บ้านทั้ง 106 หมู่บ้าน 7 ตำบล ได้มีการสร้างฝายชะลอน้ำหมู่บ้านละ 1,000 ฝาย รวม 106,000 ฝาย โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ อันเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดองค์ความรู้ในการสร้างฝายชะลอน้ำ รวมถึงมีองค์ความรู้ในการจัดการดิน น้ำ ป่าตามแนวทางศาสตร์พระราชา ซึ่งผลสำเร็จที่ปรากฏของโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันได้มีการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มไปแล้วกว่าร้อยละ 60 คิดเป็นประมาณกว่า 60,000 ฝาย โดยทีมอำเภอแม่แจ่มมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะครบ 106,000 ฝ่าย ในวันที่ 5 ธันวาคม 2566” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญและเน้นย้ำกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และนายอำเภอทั้ง 878 อำเภอ ในการเป็นผู้นำที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อมั่น เพื่อทำให้ทุกท่านได้มุ่งมั่นตั้งใจเป็นผู้นำการบูรณาการในทุกมิติของพื้นที่ด้วยการสร้างทีมงานในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ทุกตำบล ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ในการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาสู่ระบบการวางแผนให้เกิดแผนองค์รวม คือ สามารถเห็นภาพตั้งแต่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อที่จะกำหนดจัดทำเป็น Roadmap ว่าเราจะบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แก้ไขในสิ่งที่ผิดและก่อให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างไร โดยต้องอาศัยการบูรณาการทีม บูรณาการงาน บางเรื่องอาจต้องบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนอำเภอ แผนจังหวัด แผนภาค จนถึงแผนระดับกระทรวง แผนระดับชาติ ผ่านระบบกลไกที่มีตามอำนาจหน้าที่โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ซึ่งต้องอาศัยฐานข้อมูลที่ต้องมาจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มาจากคนที่รู้และเข้าใจจริง โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ และทีมงานทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน และจิตอาสา หมั่นลงพื้นที่ให้รองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด ต้องเข้าถึงพื้นที่ เข้าถึงหัวใจชาวบ้าน เพื่อรวบรวม ประมวล วิเคราะห์ อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อนำไประดมสมองว่าเราจะช่วยกันแก้ไขสิ่งผิด ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแนวพระราชดำริตามศาสตร์พระราชามาแก้ปัญหาอย่างไร โดยที่ไม่ต้องรองบประมานจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสำเร็จได้ต้องอาศัยภาวะผู้นำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และท่านนายอำเภอ ในการหลอมรวมจิตใจภาคีเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ให้สามารถพึ่งพาตนเอง ใช้ศักยภาพของตนเอง ในการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้อุปโภค-บริโภคได้อย่างยั่งยืน

ด้านนายสุระวุธ จันทร์งาม นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่า การทำฝายชะลอน้ำ ตามโครงการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามแนวทางพระราชดำริจากนภา ผ่านภูผา สู่มหานทีนั้น แต่เดิมทีมีที่มาจากการที่อําเภอแม่แจ่มได้นําส่วนราชการ ผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่รวม 7 ตําบล 104 หมู่บ้าน เข้าร่วมฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมผู้นําการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 - 30 มิถุนายน 2563 ศูนย์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อําเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในขณะนั้น ร่วมในโครงการด้วย โดยได้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรสร้างผู้นําท้องถิ่นต้นแบบแห่งการมีจิตสํานึกเป็นจิตอาสามุ่งทําความดีด้วยหัวใจเพื่อประโยชน์สุขของชุมชน ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และมีองค์ความรู้ในการสร้างฝายชะลอน้ำ รวมถึงมีองค์ความรู้ในการจัดการ ดิน น้ำ ป่า ตามแนวทางศาสตร์พระราชา ต่อมาเมื่อการฝึกอบรมแล้วเสร็จ อำเภอแม่แจ่มได้มีการทำฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ในปี .. 2563 โดยในขณะนั้นมี 104 หมู่บ้าน มีการสร้างฝายชะลอน้ำ หมู่บ้านละ 500 ฝาย รวมทั้งอำเภอแม่แจ่ม 52,000 ฝาย ซึ่งตอนนั้นใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการ 52,000 ฝายถวายพ่อ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่" ประจำปี ..2563 ต่อมาปี .. 2564 ได้มีการสืบสาน ต่อยอด เพราะเริ่มเห็นประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ ที่ฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าต้นน้ำให้กลับมา ช่วยชะลอความแร็วแรงของน้ำป่า ที่เกิดจากการตัดต้นไม้เพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทางอำเภอแม่แจ่มจึงได้สานต่อโครงการสร้างฝายชะลอน้ำต่อ ภายใต้ชื่อโครงการเดิม แต่เปลี่ยนปีเป็น .. 2564 จำนวน 52,000 ฝาย หมู่บ้านละ 500 ฝาย ทั้ง 104 หมู่บ้าน ต่อมา ปี .. 2565 อำเภอแม่แจ่ม ได้รับการแยกหมู่บ้านจำนวน 2 หมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านจาก 104 หมู่บ้าน เป็น 106 หมู่บ้าน และเพิ่มจำนวนฝายจากหมู่บ้านละ 500 ฝายเป็น 900 ฝาย ร่วมกันทำทั้ง 106 หมู่บ้าน รวมทั้งอำเภอแม่แจ่ม 93,600 ฝาย เพื่อเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ภายใต้ชื่อ "โครงการ 93,600 ฝาย เทิดพระเกียรติ 5 ธันวา มหาราช อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี .. 2565" และสุดท้าย ปี .. 2566 ทั้ง 106 หมู่บ้าน ได้มีการจัดทำฝายหมู่บ้านละ 1,000 ฝาย รวมทั้งอำเภอ 106,000 ฝาย ภายใต้ชื่อโครงการ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามแนวทางพระราชดำริจากนภา ผ่านภูผา สู่มหานทีดังนั้นฝายชะลอน้ำทั้งอำเภอแม่แจ่ม ตั้งแต่ปี 2563 - วันที่ 5 ธันวาคม 2566 นี้ จะมีรวมทั้งสิ้น 303,600 ฝาย 

นายสุระวุธ จันทร์งาม นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าวต่ออีกว่า อำเภอแม่แจ่มได้มีการบริหารจัดการ โดยให้ชาวบ้านในแต่ละครัวเรือนมีการแบ่งงานกันทำ เช่น เมื่อเร็ว นี้ ที่บ้านแม่ซา หมู่ที่ 2 .แม่นาจร .แม่แจ่ม ได้มีการทำฝายชะลอน้ำ โดยแบ่งให้ชุมชนบ้านแม่ซามี ที่มีครัวเรือนทั้งหมด 290 ครัวเรือน ได้แบ่งกันทำครัวเรือนละ 3 ฝาย รวมเป็น 870 ฝาย ที่เหลือ 130 ฝายจะมีการทำร่วมกันในหนึ่งวัน โดยจะเชิญส่วนราชการและภาคีเครือข่ายต่าง มาร่วมกิจกรรมทำฝายชะลอน้ำเพื่อให้ครบ 1,000 ฝาย รวมกับหมู่บ้านอื่น ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มได้เป็น 106,000 ฝาย ในวันที่ 5 ธันวาคม 2566 อันเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการให้พี่น้องประชาชนตลอดจนเยาวชนในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การสืบสาน รักษา และต่อยอดองค์ความรู้ในการสร้างฝายชะลอน้ำ รวมถึงมีองค์ความรู้ในการจัดการดิน น้ำ ป่าตามแนวทางศาสตร์พระราชา นำมาซึ่งความยั่งยืนของระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตของพี่น้องประชาชนชาวอำเภอแม่แจ่มตลอดไป

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล