X

ประตูผี ทางผ่าน และจุดสิ้นสุด

24 ก.ย. 2567
360 views
ขนาดตัวอักษร

ผี หรือ คนตาย เป็นอะไรที่ไม่เป็นที่ปรารถนา ต่อให้สวยหยาดฟ้า หรือหล่อสุดสุด พอวิญญาณทิ้งธาตุขันธ์แล้วไม่มีใครต้องการ ความเชื่อแต่โบราณหากพระมหากษัตริย์สวรรคตจะจัดงานพระราชพิธีพระศพในกำแพงเมือง ส่วนเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง และชาวบ้านทั่วไปต้องนำศพออกจากกำแพงเมืองเพื่อไปปลงศพ เป็นที่มาของ ประตูผี ช่องประตูที่ทางออกจากเมืองเพื่อนนำร่างออกไปปลงศพ


พอเอ่ยชื่อประตูผี ในกรุงเทพมหานคร จะนึกถึง ประตูผีที่ใกล้วัดสระเกศ อาจจะมีประตูผี หรือทาง ศพผ่านหลายจุด ตามบันทึกเก่า ย่านบางกอกน้อยมีสิ่งปลูกสร้างที่เรียกว่า เมรุปูน หรือ เมรุผ้าข้าว ที่โปรดให้สร้างไว้ปลงศพเจ้านายชั้นสูง ข้าราชการ และชาวบ้าน ที่วัด สุวรรณาราม มีเมรุปูน ท้ายวัดแจ้ง เมรุปูน ที่วัดสระเกศ


ด้วยคติการปลงศพ ที่ยึดธรรมเนียมของเมืองแบบโบราณที่ไม่ยินยอมให้มีการฌาปนกิจผู้เสียชีวิตภายในกำแพงเมือง เมื่อเคยมีเมรุปูนที่วัดสุวรรณฯ  ก็น่าจะมีประตูผีที่ไม่ใช่ทางออกของคนอยู่แถวนั้น


นอกจากประตูผี หากชาวบ้านอาศัยอยู่ทางทิศใดของเมืองให้นำออกนอกประตูเมืองทางทิศนั้น วัดเก่าที่มีป่าช้าหรือที่ฌาปนกิจอยู่ใกล้กับประตูเมืองนอกกำแพงเมืองครั้งแรกสร้างเมื่อรัชกาลที่ 1 คือ ทางด้านเหนือ  “วัดบางลำพู” หรือ “วัดสังเวชวิศยาราม” และ “วัดเชิงเลน” หรือ “วัดบพิตรพิมุข” ทางด้านใต้ “วัดปทุมคงคา” หรือ “วัดสำเพ็ง” ในชุมชนชาวจีนริมแม่น้ำเจ้าพระยา พอมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม ให้เป็นคูคลองเมืองชั้นนอกสุดในรัชกาลที่ 4 การปลงศพของคนกรุงเทพฯ ให้ถือเอาเขตนอกเมืองคูคลองเมืองแต่แรกเริ่มเท่านั้น ไม่ได้ขยายมาถึงคลองรอบเมืองชั้นนอกสุด  จึงไม่มีเมรุเผาศพในเขตพระนครชั้นนอกอยู่ทั่วไปรวมทั้งการฝังศพที่กูโบร์ของชาวมุสลิมที่บริเวณมัสยิดของชุมชนมหานาค


เมรุปูนวัดสระเกศค่อยๆ หายไป เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่เป็นย่านธุรกิจการค้า ผ่านแยกสำราญราษฎร์ สะพานสมมติอมรมารค ผ่านเมรุปูนวัดสระเกศฯ เมรุปูนวัดสระเกศ ถูกทดแทนด้วยการสร้างเมรุุนำเข้าเตาเผาศพทันสมัยที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ  ปลายทางของ ร่าง จึงไม่ได้ผ่านประตูผีอีกต่อไป 


Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล