X

Care Nurture Support ประกวดภาพถ่าย “วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก”

25 มิ.ย. 2567
3390 views
ขนาดตัวอักษร

25 มิ.ย.67 - กรมทรัพยากรน้ำ เชิญชวนประกวดภาพถ่าย เนื่องในวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ในหัวข้อ “Care Nurture Support” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 94,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร

กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดภาพถ่าย เนื่องในวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ในหัวข้อ “Care Nurture Support”การฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสะท้อนเรื่องราว รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษา และสนับสุนน ฟื้นฟู ระบบนิเวศที่มีคุณค่าที่สุด คือ “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 94,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร เปิดรับผลงานภาพ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 21 กรกฎาคมนี้ (ปิดระบบเวลา 16.00 น.)  ซึ่งภาพที่ชนะการประกวดจะนำไปจัดนิทรรศการในงานวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้ที่สนใจ สามารถส่งใบสมัครและไฟล์ภาพผลงานได้ที่ หรือ E-Mail : dwr.photocontest2024@gmail.com

โดยบันทึกเป็นไฟล์ .jpg หรือ .jpeg เท่านั้น และควรต้องรักษาไฟล์ RAW หรือ ไฟล์ต้นฉบับขนาดใหญ่ไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเยาวชน อายุ 8 – 18 ปี และประเภทประชาชนทั่วไป อายุ 18- 65 ปี เพื่อเป็นการร่วมกันรณรงค์ให้คนไทย "ดูแล รักษา และสนับสนุน ฟื้นฟู ระบบนิเวศน์ที่มีคุณค่า พื้นที่ชุ่มน้ำ" การใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของประเทศและสิ่งแวดล้อมโลก  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

• กรมทรัพยากรน้ำ โทร 02-2716000  

• Facebook Page : กรมทรัพยากรน้ำ  

• Instagram : dwrthailand


กติกาการประกวด

1. ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงาน นักเรียน / นักศึกษา / บุคคลทั่วไป

2. ผลงานที่เข้าร่วมจะต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อ “Care Nurture Support”

3. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นไฟล์ภาพสี หรือขาวดำ ในแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

4. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยตนเอง ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

5. สามารถใช้ “กล้องที่บันทึกภาพดิจิตอลทุกชนิด” อาทิ DSLR, Mirrorless, Medium Format, Large Format, Range-Finder, Compact, Action Camera ฯลฯ

6. ไฟล์ภาพจากกล้องที่บันทึกภาพดิจิตอล ต้องมี “ขนาดด้านสั้นที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 2,400 pixels” และ “ขนาดด้านยาวที่สุดต้องไม่เกินกว่า 6,000 pixels” ในรูปแบบไฟล์ .jpg หรือ .jpeg เท่านั้น และควรต้องรักษาไฟล์ RAW ไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ

7. ไฟล์ภาพจากกล้องสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต ควรมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่และมีคุณภาพเท่าที่อุปกรณ์นั้น ๆ และ“ขนาดด้านยาวที่สุดต้องไม่เกินกว่า 6,000pixels” ในรูปแบบไฟล์ .jpg หรือ .jpeg เท่านั้น และควรต้องรักษาไฟล์ RAW หรือ ไฟล์ต้นฉบับขนาดใหญ่ไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ

8. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยผ่านการนำไปเผยเเพร่จากที่ใดมาก่อน เเละไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

9. ผู้ส่งผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ด้านภาพ หรืออื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงาน ในกรณี ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ เเละมีการฟ้องร้องทางกฎหมาย ผู้ส่งผลงานต้องรับผิดชอบเเต่เพียงผู้เดียว

10. ผลงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นลิขสิทธิ์ของกรมทรัพยกรน้ำ ทั้งนี้ผู้ส่งยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายแต่ผู้ส่งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ทุกกรณี

 

เกณฑ์ในการตัดสิน

1. ภาพมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อ “Care Nurture Support”

2. ความคิดสร้างสรรค์ ความสมบูรณ์ของภาพ

3. เทคนิคการถ่ายภาพมีความน่าสนใจ


รางวัลการประกวด (2 ประเภทรางวัล เยาวชน และประชาชนทั่วไป)

1. รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร (จำนวน 2 รางวัล)

2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ​เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร (จำนวน 2 รางวัล)

3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร (จำนวน 2 รางวัล)

4. รางวัลชมเชย เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร (จำนวน 2 รางวัล)


การแสดงออกผ่านภาพให้มองเห็นได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดดังต่อไปนี้ (ทางเลือก ถ้าไม่มีอยู่ในหมวดนี้ อาจจะตัดทิ้งหรือแยกไปอีกหมวดได้ แล้วแต่การกำหนดของผู้จัดงาน)

1. ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์: ภาพถ่ายที่แสดงถึงผู้คนที่มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งอาจรวมถึงการปลูกพืชพื้นเมือง การกำจัดสายพันธุ์ที่รุกราน หรือการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

2. ชีวิตสัตว์: ภาพที่แสดงให้เห็นการกลับมาของสัตว์ป่าสู่พื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการฟื้นฟู อาจเป็นนกที่ใช้พื้นที่ทำรัง ปลากลับมาวางไข่ หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เจริญรุ่งเรืองในถิ่นที่อยู่ใหม่

3. ปรับปรุงคุณภาพน้ำ: ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกของการฟื้นฟูความใสของน้ำหรือสุขภาพของพืชน้ำจะได้รับผลกระทบ

4. การปลูกพืชพื้นเมือง: ภาพถ่ายที่บันทึกกระบวนการปลูกหรือแสดงการเจริญเติบโตของพืชใหม่ๆ ซึ่งแสดงถึงการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ

5. การนำสิ่งมีชีวิตที่รุกรานออก: ภาพที่แสดงถึงการกำจัดพืชหรือสัตว์ที่รุกรานซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำนั้น

6. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน: ภาพถ่ายที่จัดแสดงการก่อสร้างโครงสร้าง เช่น ประตูควบคุมน้ำ หรือการขจัดสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตรายซึ่งขัดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ

ผลกระทบทางการสื่อสารผ่านอารมณ์

1. ความหวังและการฟื้นฟู: ความรู้สึกโดยรวมของภาพถ่ายควรเป็นหนึ่งในความหวังและผลกระทบเชิงบวกจากการแทรกแซงของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

2. ความเชื่อมโยงกับน้ำ: ภาพถ่ายควรเน้นย้ำถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล