X

ไขคำตอบกาแฟโบราณของไทย ทำไมโอเลี้ยงต้องยกล้อ?

24 ต.ค. 2567
140 views
ขนาดตัวอักษร

พาไปไขความลับที่มาของ “โอเลี้ยงยกล้อ” กาแฟโบราณที่รสชาติหวานเข้มชื่นใจ แล้วไปเกี่ยวกับการยกล้อได้อย่างไร มาย้อนวันวานถึงที่มาของชื่อนี้ไปด้วยกัน


โอเลี้ยง ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มยอดฮิตที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานหลายต่อหลายรุ่น โดย คำว่า “โอเลี้ยง” มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว คำว่า “โอ” แปลว่า ดำ หรือสีดำ ส่วนคำว่า “เลี้ยง” แปลว่า เย็น เมื่อนำคำว่าโอและเลี้ยงมารวมกันจึงกลายมาเป็นโอเลี้ยง หรือกาแฟสีดำเข้ม ใส่กับน้ำแข็งเย็นๆ


สำหรับ โอเลี้ยงยกล้อ ก็คือการนำเอาเมนูกาแฟโบราณอย่างโอเลี้ยง มาใส่นม ซึ่งคำว่ายกล้อ ไม่ได้มาจากการที่คนชงกาแฟต้องไปยกล้อรถสักคนก่อนชง หรือลีลาการชงที่แปลกแหวกแนวแต่อย่างใด แต่มีที่มาจาก เมื่อสมัยก่อนไทยมีนมข้นจืดยี่ห้อหนึ่ง ที่สลากมีโลโก้จักรยาน พอถึงเวลายกเทกระป๋องนมตัวสลากจึงเหมือนจักรยานยกล้อจึงเป็นที่มาของ โอเลี้ยงยกล้อนั่นเอง


นอกจากโอเลี้ยงยกล้อแล้ว ขอพาไปดูความหมายของเมนูกาแฟโอราณอื่นๆที่เราคุ้นหูกัน ได้แก่


จั้มบ๊ะ คือ  โอเลี้ยง เพิ่มเติมความหวานเป็นพิเศษ ด้วยน้ำหวานสีแดง หรือสีเขียว ตามแต่ที่ร้านจะมีลงไป ซึ่งที่มาของชื่อก็จะเหมือนกับน้ำแข็งไสจ้ำบ๊ะที่ใช้น้ำหวานสีแดงหรือสีเขียวแบบเดียวกันนี้ราดลงไป


โอยั๊วะ คือ กาแฟดำร้อน หรือ อเมริกาโนแบบไทยที่ไม่ใส่ทั้ง ครีม นม น้ำตาล โดยคำว่า โอยั๊วะมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว คำว่า โอ แปลว่า ดำ ยั๊วะ แปลว่า ร้อน เมื่อรวมกันโอยั๊วะก็คือ กาแฟดำร้อน 


โกปี๊ คือ กาแฟดำใส่นมข้นหวาน ชื่อเมนูนี้มีที่มาจากทับศัพท์คำว่า Coffee ในภาษาอังกฤษ เมื่อออกเสียงแบบสำเนียงใต้ จึงเพี้ยนเป็นคว่า โกปี๊  โกปิ๊ โกปี้ หรือโกปี แล้วแต่ท้องถิ่น


โกปี๊ออ ก็คือ กาแฟดำร้อนไม่ใส่นม


ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : www.punthaicoffee.com


ติดตามรับชมลีลาการชงโอเลี้ยงยกล้อของ ‘หนอยแน่’ ได้ที่  Lost in Thai Mystery : หลงรักไทย ที่จะพาหนีกรุงหลงไปในอดีต กับย่านคลองบางหลวง ได้ที่

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล