X

โค้ชชิ่ง ผ้าลายดอกรักราชกัญญา พัฒนาฝีมือช่างทอผ้าไทย และกลุ่ม OTOP ปักษ์ใต้

5 เม.ย 2566
810 views
ขนาดตัวอักษร

เม..66 - ปลัด มทจับมือนายกแม่บ้าน มทนำทีมผู้เชี่ยวชาญผ้าไทย โค้ชชิ่ง “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” ยกระดับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้า และช่างหัตถกรรม 14 จังหวัดปักษ์ใต้


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรม Coaching พัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านผ้าไทย และงานหัตถกรรม "ผ้าลายดอกรักราชกัญญาพร้อมด้วยผู้ประกอบการผ้าไทยและสมาชิกศิลปาชีพในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกิจกรรม


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทุ่มเทในการฟื้นฟูอาชีพช่างทอผ้าให้ได้เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรเพื่อทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยพระราชทานแนวความคิดไปสู่การปฏิบัติ และโชคดีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อให้คนไทยทุกคนมีความสุข คือ ทำให้ชาวบ้านกลับมาทอผ้าก่อน ต่อยอดด้วยทรงใช้กลไกตลาด เริ่มต้นจากการพัฒนาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ 


โดยนำเอา know-how สมัยใหม่ เกี่ยวกับเรื่องแฟชั่น หัตถศิลป์เข้ามาใส่ “พุ่งเป้าไปที่คน ให้คนไปพัฒนาชิ้นงาน” เช่นเรื่องสีเคมี พระองค์ทรงมีกุศโลบาย บอกให้ประชาชนรู้ว่ามันเป็นอันตราย ใส่ในทุกวันมันก็จะซึมเข้าผิวหนัง น้ำที่เหลือจากการย้อมเทลงพื้นก็จะทำให้ดินเสีย เทลงไปในลำห้วย ปลาก็ตาย น้ำก็เน่า และควันที่ลอยขึ้นยังเป็นก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศทำให้โลกร้อน จึงทรงโน้มน้าว ให้คนใช้สีธรรมชาติ ด้วยการนำหลักการพึ่งพาตนเอง ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปลูกต้นไม้ให้สี มาใช้ 


พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำเรื่อง Sustainable Fashion อย่างแท้จริง พร้อมทั้งทรงโปรดให้คณะทำงานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ลงมาให้คำแนะนำ มาอบรมโค้ชชิ่ง เพื่อให้ช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และทรงเน้นย้ำว่า "การทำงานเป็นทีมจะทำให้ความสำเร็จในวงกว้างบังเกิดขึ้น


การจะพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีที่ยั่งยืนได้ “ข้าราชการต้องเป็นผู้นำเอาความรู้และเนื้อหาไปสู่พี่น้องประชาชน” ด้วยการที่ 1) ต้องมีความรู้เข้าใจถ่องแท้ และ 2) ต้องเลื่อมใส เป็นผู้นำต้องทำก่อน ด้วยการใส่ผ้าไทยในทุกวัน ทุกโอกาส เป็นผู้มีหัวใจหรืออุดมการณ์ หรือ passion และมี creative Thinking ทำหน้าที่ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้บำบัดทุกข์ บำรุงสุข นำการพัฒนาต่อยอด ไปทำให้ประชาชนอีกหลายล้านชีวิต ได้รับการจุดประกายไฟให้มีแรงบันดาลใจในการที่จะ Change for Good ให้เกิดขึ้นในชีวิต ทำให้พี่น้องประชาชนเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ทำในสิ่งที่ถูก โดยเป้าหมายอยู่ที่ประชาชน ถ้าอยากให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ต้องมีรายได้ดี จะมีรายได้ดีต้องมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญในการผลิตงานหัตถศิลป์หัตถกรรมที่ถูกใจผู้คน ไม่ใช่ทำให้คนช่วยซื้อเพราะความสงสาร ต้องทำให้คนซื้อเพราะฝีมือดี ดังที่พระองค์หญิงทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ด้วยการสนองพระดำริ ทำให้ผืนผ้าไทยทุกผืนเป็นผ้าที่มีคุณภาพ มีความสวยงาม และมูลค่าที่สูงขึ้น เพื่อประชาชนทุกคนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน


ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กล่าวว่า ทั่วโลกมีเพียง 20 กว่าประเทศจาก 200 กว่าประเทศทั่วโลก ที่มีผ้ามีเครื่องนุ่งห่มเป็นของตนเอง และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเป็นของตนเอง มีวัฒนธรรมการทอผ้าด้วยมือ Handmade ของตนเอง ประเทศที่เหลือเป็น Machine-made 


ซึ่งการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใด  ที่เข้าสู่ตลาดผู้บริโภคนั้นมีหลักสำคัญอยู่ 4 P คือ ผลิตภัณฑ์ (Product) ซึ่งถือเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้ตลาดยอมรับ โดยพระองค์พระราชทานลายผ้า ลายแรก คือ ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ต่อมาพระราชทานลายขิดนารีรัตนราชกัญญา และชาวปักษ์ใต้โชคดีที่มีลายบาติกพระราชทาน ได้แก่ ปาเต๊ะร่วมใจเทิดไท้เจ้าหญิงท้องทะเลไทย และป่าแดนใต้ และล่าสุด คือ ลายดอกรักราชกัญญา เพื่อให้ช่างทอผ้าได้น้อมนำไปประยุกต์ใช้ อันทำให้ผืนผ้ามีมูลค่าที่สูงขึ้น 


รวมทั้งทรงส่งเสริมแนวทางการพัฒนาช่องทางการจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ด้วยการพระราชทานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก และโปรดให้ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าตลอดวงจรตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่ายได้มาพัฒนาศักยภาพของพวกเราทุกคน ซึ่งผ้าไทยทุกผืนเป็นเงินรายได้กลับไปสร้างชีวิตที่ดีให้กับลูกหลาน กลับไปพัฒนาครอบครัว พัฒนาชุมชน และประเทศไทย แต่ทั้งนี้ "ทุกคนต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพวกเราต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากตัวพวกเรา เพื่อที่จะทำให้ผ้าไทยได้เฉิดฉายในตลาดทั่วโลกและมีมูลค่าที่สูงขึ้น อันหมายถึงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน


ในปีนี้เป็นการประกวดย่างเข้าปีที่ 3 สิ่งที่เห็น คือ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่ส่งผ้าเข้าประกวดเป็นจำนวนมากในปีที่ผ่านมา ดังนั้น ในปีนี้ ตั้งเป้ามีผู้ส่งผ้าเข้าประกวดไม่น้อยกว่า 5,000 ผืน มีหลักเกณฑ์การประกวด เช่น ต้องส่งผลงานตามภูมิลำเนาที่ผลิต และผ้าที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผ้าทอมือ หรือทำจากมือเท่านั้น และต้องระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบอย่างละเอียด ทั้งนี้ ผ้าหรืองานหัตถกรรมที่ส่งเข้าประกวดสามารถนำลายโบราณของแต่ละท้องถิ่นมาผสมผสานกับผ้าลายพระราชทาน "ลายดอกรักราชกัญญาได้ทุกประเภท โดยผลงานผ้าหรืองานหัตถกรรมต้องมีรายละเอียดแนวคิดในการทำบรรจุภัณฑ์ (Packaging)  และเรื่องเล่า (Storytelling) เป็นต้น


พี่น้องชาวปักษ์ใต้มีความโชคดีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานลายผ้าพระราชทานให้กับชาวปักษ์ใต้เป็นจำนวนมาก ซึ่งล่าสุด คือ “ผ้าบาติกลายพระนามาภิไธยสิริกิติ์” นอกจากนี้ ขอให้พี่น้องชาวปักษ์ใต้ได้ภาคภูมิใจว่า ผ้าบาติกเป็นผ้าที่พระองค์ทรงนำไปตัดฉลองพระองค์เยอะมาก และจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจุดเริ่มต้นของการพระราชทานพระดำริ “โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก” จึงขอให้ชาวปักษ์ใต้ได้ร่วมส่งผืนผ้าเข้าประกวดกันด้วยความตั้งใจและความสนุกสนานที่ได้ทำผ้าและผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง  เพราะ “ผ้าไทยใส่แล้วสนุกจริง ” 


นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน  ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”  โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 4 สิงหาคม 2566  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอในพื้นที่ภูมิลำเนาของผู้สมัคร โดยการตัดสินการประกวดระดับภาคใต้ จะจัดขึ้นในวันที่ 25 - 26 สิงหาคม2566 รอบก่อนรองชนะเลิศ วันที่ 23 - 24 กันยายน 2566 รอบรองชนะเลิศ วันที่ 30 กันยายน 2566 และรอบตัดสินระดับประเทศ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2566


อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล