X

เพิ่มทางรอดปูม้า ทะเลไทย วช. หนุน มทร.ศรีวิชัย เสริมวิจัย “ธนาคารปูม้า”

15 ก.ค. 2566
740 views
ขนาดตัวอักษร

15 ..66 - เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเล วชหนุน มทร.ศรีวิชัย เสริมงานวิจัย “ธนาคารปูม้า” สร้างอนาคตที่ยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดตรังและกระบี่


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ วชพร้อมด้วยคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อเยี่ยมชมผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่อง “การฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนธนาคารปูม้าพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรังและกระบี่” ภายใต้โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้า สู่ทะเลไทย” ที่ วชให้การสนับสนุนทุนวิจัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกิจ ผินรับ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หัวหน้าโครงการวิจัย และทีมนักวิจัย พร้อมด้วย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาโนช ขำเจริญคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นายนิรัต ทองพรัด ผู้ดูแลศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านหาดทรายทอง นายบุญนำ อมรสิริปัญญา ผู้ดูแลศูนย์เรียนรู้ปูม้าและธุรกิจอาหารทะเล และผู้นำชุมชนให้การต้อนรับ  ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกิจ ผินรับ หัวหน้าโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่าโครงการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนธนาคารปูม้าพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรังและกระบี่นั้น ได้ดำเนินโครงการธนาคารปูม้าชุมชนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ .. 2561 จนถึงปัจจุบัน มีธนาคารปูม้าชุมชนจำนวน 64 แห่ง และศูนย์เรียนรู้จำนวน 13 ศูนย์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 77 แห่ง (9 อำเภอ 54 ชุมชนจังหวัดตรังจำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิเกา อำเภอกันตัง อำเภอปะเหลียน และอำเภอหาดสำราญ จังหวัดกระบี่จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอคลองท่อม อำเภอเหนือคลอง อำเภอเกาะลันตา อำเภอเมือง และอำเภออ่าวลึก ในปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานที่จัดตั้งเพื่อพัฒนาธนาคารปูม้าชุมชนเป็นศูนย์เรียนรู้พร้อมทั้งติดตั้งชุดสื่อการเรียนรู้และนิทรรศการในการขับเคลื่อนธนาคารปูม้าชุมชนสู่ความยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดตรังและกระบี่ เพิ่มจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ธนาคารปูม้าบ้านคลองยวน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และธนาคารปูม้าบ้านหาดยาว อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 


นอกจากนี้ได้สนับสนุนและบำรุงรักษาวัสดุและอุปกรณ์ในการทำธนาคารปูม้าแบบโรงเพาะฟักชุมชนให้กับธนาคารปูม้าและศูนย์เรียนรู้ของจังหวัดตรังและกระบี่จำนวน 77 แห่ง อาทิ ระบบน้ำ ระบบไฟ ระบบให้อากาศ ถังเพาะฟักเป็นต้น จัดกิจกรรมวันกินปูม้าตรัง ครั้งที่ 3 เป็นระยะเวลา 2 วัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ธนาคารปูม้าชุมชนที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้ารวมทั้งกลุ่มเกษตรกรแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าประมงจังหวัดตรัง มีรายได้และยอดขายเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายอาหารหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้าในการออกร้านจำหน่ายปูม้า 


ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวได้สร้างรายได้ให้กับชุมชน ผลิตภัณฑ์สินค้าจากเครือข่ายธนาคารปูม้าจังหวัดตรัง ได้แก่ ปูม้านึ่งนักเก็ตปูม้า ทอดมันปูม้า จ๊อปูม้าเกาะสุกร ปูม้าจ๋า ปูม้าดองน้ำปลา น้ำพริกปูม้า และข้าวผัดปูม้า เป็นต้น สู่การผลักดันผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้าให้ได้มาตรฐานการผลิต GMP และได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวและเครื่องหมายฮาลาลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค จากกิจกรรมดังกล่าวที่จัดขึ้นมีประชาชนสนใจเข้าร่วมงานและซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ปูม้ามากกว่า 3,000 คน ตลอดระยะเวลา 2 วัน มีมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 300,000 บาท ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก 


นอกจากนี้ ได้นำปุ๋ยส่วนผสมจากเปลือกปูม้ามาใช้ในการปลูกแตงโมแบบโรงเรือนต้นแบบ (แตงโมลอยฟ้าเกาะสุกร จังหวัดตรัง ที่สามารถปลูกนอกฤดูการเก็บเกี่ยวได้ อีกทั้งให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ และมีรสชาติที่หวานกรอบ มีความหวานอยู่ที่ 12.3 บริกซ์ ซึ่งความหวานของแตงโมมาตรฐานปกติจะอยู่ที่ 10-12 บริกซ์ เนื่องจากเปลือกปูม้ามีธาตุอาหารในส่วนของแมกนีเซียมและแคลเซียมอยู่ในปริมาณที่มากซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชทำให้พืชเจริญเติบโตและแข็งแรงดี โดยใช้ปุ๋ยส่วนผสมเปลือกปูม้าในการปลูกแตงโมลอยฟ้าจำนวน 320 กิโลกรัมต่อไร่


และทีมนักวิจัยได้ผลักดันกิจกรรมเพื่อสังคมได้ชักชวนชาวประมงในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงเยาวชนในพื้นที่ร่วมกันปล่อยลูกปูม้าคืนสู่ทะเล ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ในการทำธนาคารปูม้า และการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าด้วยการปลูกจิตสำนึกกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าไทยให้ยั่งยืน


ส่วนที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านหาดทรายทอง และศูนย์เรียนรู้ปูม้าและธุรกิจอาหารทะเล ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จะเห็นได้ว่าการใช้ประโยชน์จากการวิจัยจากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนและบูรณาการให้เกิดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มทรัพยากรปูม้าในท้องทะเลไทยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งผลสำเร็จในการฟื้นฟูและการจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรปูม้าจะช่วยแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ได้อย่างทันท่วงทียกระดับการท่องเที่ยว สู่การอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าไทยที่ยั่งยืนต่อไป


สำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง  ที่แปรรูปจากปูม้า และองค์ความรู้จากการวิจัยภายใต้โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อคืนปูม้า สู่ทะเลไทย” ทีมนักวิจัยจะนำมาจัดแสดงนิทรรศการและจัดจำหน่ายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติประจำปี 2566 : Thailand Research Expo 2023” ที่ วชกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล