X

ไขปริศนาอาคารในโครงการ One Bangkok

27 ต.ค. 2567
500 views
ขนาดตัวอักษร

ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี 2455 กิจการวิทยุของไทยกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลส่ง พระสรรพกิจปรีชาเป็นผู้แทนสยามไปร่วมประชุมสากลวิทยุครั้งที่ 2 ที่ประเทศอังกฤษ (ครั้งแรกที่ประเทศเยอรมนี ในปี 2449 ผู้แทนสยามคือ H.Keuchenius ที่ปรึกษาทูตไทยในกรุงเบอร์ลินเป็นผู้แทน) กฎสากลของวิทยุฉบับที่ได้มาครั้งที่ 2 นี้สมเด็จเจ้า ฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลเป็นภาษาไทยว่า"ราดิโอโทรเลข"


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรง บัญญัติให้ใช้คำว่า "วิทยุ" แทนคำ "ราดิโอ" ปีต่อมา 2456 รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้น 2 สถานี

คือ ที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ และที่จังหวัดสงขลาอีกแห่งหนึ่ง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรเลขของราชการแห่งแรกในสยาม ที่ตำบลศาลาแดง เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2456


วันที่ 1 สิงหาคม 2469 ได้โอนพนักงานวิทยุทหารเรือ มาเป็น ข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมไปรษณีย์ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ค่อยมีประชาชนมาใช้บริการ เพราะคนยังไม่เชื่อว่าการติดต่อโดยทางวิทยุโทรเลขนี้จะเป็นไปได้จริง เมื่อการรับฟังวิทยุแพร่ขยายมากขึ้น กรมพระกำแพงเพีชรฯ ทรงสั่งทำเครื่องมีกำลังส่งมากขึ้น เป็นขนาด 2.5 กิโลวัตต์ ขนาดคลื่น 350 เมตร ความถี่ 826.44 กิโลเฮิรตซ์ ราคา 80,000 บาท ของบริษัทฟิลิปราดิโอประเทศฮอลันดา แล้วได้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่บริเวณทุ่งนาหน้าโฮเต็ลพญาไท (วังพญาไท หรือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน) เหตุที่เลือกที่นี่ก็เพราะที่ศาลาแดงนั้นคลื่นวิทยุจะถูกรบกวนจากคลื่นโทรเลข ซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกัน และต้องสร้างห้องส่งขึ้นใหม่เพื่อป้องกันเสียงรบกวน แต่ที่ทุ่งนาพญาไทนั้นเป็นที่ห่างไกลชุมชน ไม่มีเสียงรบกวนจึงไม่ต้องสร้างห้องส่งเป็นพิเศษ


ขอบคุณภาพโดย @trt Thongnuan ครับ




Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล