X

โควิด XBB.1.16 แค่แพร่เร็ว ย้ำ! ทุกวัคซีนยังช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

18 เม.ย 2566
500 views
ขนาดตัวอักษร

18 เม.. – กรมวิทย์ฯ ชี้ โควิด XBB.1.16 แค่แพร่เร็ว แต่ไม่แรงเท่าเดลตา ATK ยังสามารถใช้ตรวจหาเชื้อได้ตามปกติทั้งนี้มั่นใจได้ว่าทุกวัคซีนยังป้องกัน และลดความรุนแรงของโรคได้ ขณะที่ สธยืนยันยารักษามีเพียงพอทุกชนิด และยังใช้ได้ปกติ 1 .นี้ เตรียม ฉีดวัคซีนโควิดคู่กับไข้หวัดใหญ่ เหมือนโรคประจำถิ่น 1 ปีฉีด 1 ครั้ง


นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าขณะนี้สายพันธุ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่พบอยู่ในตระกูล XBB ซึ่งเป็นการรวมผสมของ 2 สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส  แต่ยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน โดยสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยเหมือนกับสายพันธุ์ที่ระบาดในทั่วโลก โดยสัดส่วนที่พบ เป็น XBB.1.5  ถึง  47.9% ,XBB.1.16 พบ 7.6% และ XBB.1.9.1 พบ 4% 

ส่วนประเทศไทย ขณะนี้ พบแนวโน้ม XBB.1.16 เพิ่มมากขึ้น และคาดว่าไม่นานก็จะเบียด XBB.1.5 ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย พบการติดเชื้อ XBB.1.5  ถึง 27.5% ,XBB.1.16 พบ 10% และ XBB.1.9.1 พบ 15 % อย่างไรก็ตามต้องมีการจับตาเฝ้าระวังต่อไป เนื่องจากการพบ XBB.1.16 พบผู้ป่วยแล้ว 27 คน ในจำนวนนี้ 22 คน พบในเดือน มี.และเม.พบ 5 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 คน เป็น ต่างชาติอายุ 85 ปี โดยมีโรคอื่นร่วม 

จากการติดตามสายพันธุ์ย่อย XBB.1.16 พบว่ามีอาการทางคลินิกของ XBB.1.16 ได้แก่ คันตา ตาแดง แต่ไม่มีหนองส่วนในเด็กนั้นยังไม่มีรายงานบ่งชี้ว่า ต้องมีอาการทางตาเสมอไป ซึ่งอาการบ่งชี้สำคัญคือต้องมีไข้ 

ทั้งนี้การตรวจหาเชื้อ XBB.1.16  ยังคงทำได้ด้วยการตรวจ ATK เพราะเป็นการตรวจหาโปรตีนของไวรัส อย่างไรก็ตามการตรวจหาเชื้อเน้นตรวจเมื่อมีอาการ และต้องเข้าใจธรรมชาติ ATK ว่าสามารถแสดงผลลวงได้


ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้มีการประชุมติดตามสถานการณ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ว่า จากการรายงานของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า แม้จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่อาการไม่รุนแรง มีรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อย โดยจำนวนผู้ใส่ท่อช่วยหายใจใน 12 เขตสุขภาพ มีสะสมไม่ถึง 20 คน และเสียชีวิต 2 คนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้การเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อที่มากขึ้น ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะการติดเชื้อที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำมาก  

สำหรับไวรัสตัวนี้หลบภูมิกันติดง่าย แต่ก็ไม่ได้ติดง่ายกว่าตัวอื่น หรือ รุนแรงกว่าตัวอื่นมากนัก  โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงจัดให้ไวรัสอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่ต้องติดตาม และไม่ได้อยู่ในสายพันธุ์เฝ้าระวัง “ซึ่งเชื้อไวรัสยังคงตอบสนองต่อยาเหมือนเดิม และสต็อกยังคงมีเพียงพอ” ทั้ง ฟาวิพิราเวียร์ ,โมลนูพิราเวียร์ 1 ล้านเม็ด ,เรมดีสซีเวียร์100,000 โดส (ใช้ฉีด) ,แพกซโลวิด ใช้เพียงพอ 10,000 คน และ LAAB

สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด เตรียมให้การฉีดให้รูปแบบของวัคซีนแบบประจำปี /ปีละ 1 ครั้ง ร่วมกับ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ฉะนั้นการรับมือโควิด-19 จึงเหมือนกันโรคประจำถิ่น ซึ่งจะเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ร่วมกับไข้หวัดใหญ่ทั่วประเทศ เริ่มต้น 1 .นี้ ระยะแรกเน้นในกลุ่มเสี่ยง 608 เป็นลำดับแรก 

ส่วนบุคคลทั่วไป หากต้องการฉีดวัคซีนโคงิด-19 สามารถทำได้ เพียงแต่ระยะห่างของวัคซีน ควรห่างมากแล้ว 3 เดือนหรือ ป่วยหายแล้วมานาน 3 เดือน อย่างไรก็ตาม หากประชาชนที่ไปทำกิจกรรมช่วงสงกรานต์ต้องสังเกตตัวเอง งดใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง 608 โดยการป้องกันโรคยังใช้วิธีเดิม คือ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือให้สะอาดเสมอ

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล