X

หางฮิปโปโปเตมัส เห็นสั้นๆแบบนี้ ก็มีประโยชน์นะ

8 พ.ย. 2567
220 views
ขนาดตัวอักษร

จากกระแสความน่ารักของ “น้องหมูเด้ง” ที่ให้คนหันมาสนใจเรื่องราวของฮิปโปโปเตมัสกันมากขึ้น ทั้งขนาดปกติ และฮิปโปโปเตมัสแคระ หนึ่งในนั้นก็คือหางสั้นๆน่ารักดุ๊ดดิ๊กๆ แต่รู้หรือไม่... หางของฮิปโปโปเตมัสอาจมีประโยชน์มากกว่าแค่น่ารัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆที่คุณอาจรู้ และอาจไม่รู้มาก่อนเกี่ยวกับฮิปโปโปเตมัส


ฮิปโปโปเตมัสมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ฮิปโปโปเตมัสตัวใหญ่ แล ะฮิปโปโปเตมัสแคระ ซึ่งฮิปโปโปทั้ง 2 สายพันธุ์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากช้างและแรดขาว โดย ฮิปโปโปเตมัสทั่วไป เมื่อโตเต็มวัย มีความยาว 2-5 เมตร สูงประมาณ 1.5 เมตร และหนัก 1.4-5 ตัน ส่วนฮิปโปโปเตมัสแคระ เมื่อโตเต็มวัย มีความยาว 1.5-1.75 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร และหนัก 160-275 กิโลกรัม 


โดยสิ่งที่น่าประหลาดใจคือ หางของฮิปโปโปเตมัสทั่วไป เมื่อโตเต็มวัยมีความยาวเฉลี่ยเพียง 1.8 ฟุต ส่วนฮิปโปโปเตมัสแคระ จะมีขนาดหาดเฉลี่ยอยู่ที่ 16 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับร่างกายของฮิปโปโปเตมัส


แต่ประโยชน์ของหางสั้นๆนี้ อยู่ที่การใช้เพื่อกระจายอาณาเขต เพราะตามพฤติกรรมตามธรรมชาติของฮิปโปโปเตมัสจะใช้มูลเพื่อทำเครื่องหมายอาณาเขตของตน โดยในขณะขับถ่ายจะกระดิกหางไปมาอย่างรวดเร็ว เพื่อกระจายมูลไปรอบๆเป็นวงกว้างมากที่สุดในอาณาเขตที่อ้างสิทธิ์


นอกจากนี้ยังมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฮิปโปโปเตมัส ประกอบด้วย


ชื่อ ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamus) มีจากรากศัพท์ภาษากรีกโบราณ โดย “ฮิปโป” (Hippos) แปลว่าม้า ส่วนคำว่า “โปตามอส” (Potamos) หรือที่เราคุ้นว่าโปเตมัสนี้ แปลว่าแม่น้ำ เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “ม้าน้ำ”


ต้นตระกูล นักวิจัยค้นพบว่า DNA ของฮิปโปโปเตมัสกับวาฬมีความสัมพันธ์ เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันคือ “วาฬเดินได้” ก่อนที่จะแยกสายวิวัฒนาการกลายมาเป็นวาฬและฮิปโปโปเตมัสในปัจจุบัน แต่ทั้งสองยังมีลักษณะความคล้ายคลึงของกระเพราะอาหาร มีชั้นไขมันที่หนาไว้ปกป้องร่างกาย อีกทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสารกันใต้น้ำได้อีกด้วย


เหงื่อ ฮิปโปโปเตมัสทั่วไปจะมีสีแดง เป็นกลไกอย่างหนึ่งที่ช่วยปกป้องผิวของฮิปโปไม่ให้แห้งและถูกเผาจากแสงแดด ทั้งยังช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวฮิปโป โดยเหงื่อจะไม่ระเหยเหมือนเหงื่อของสัตว์อื่น ๆ แต่จะเคลือบอยู่บนผิว ทำหน้าที่คล้ายครีมกันแดด จึงทำให้ผิวของฮิปโปโปเตมัส ส่วนฮิปโปโปเตมัสแคระ จะมีเหงื่อที่ออกมาเป็นสีขาว แต่ก็มีคุณสมบัติป้องกันแสงแดดวร้างความชุมชื้นให้ผิวหนังเช่นเดียวฮิปโปโปเตมัสทั่วไป


กินพืชแต่อ้วน เพราะกระบวนการย่อยอาหารของฮิปโปโปเตมัสจะย่อยเป็นแป้งและน้ำตาล ประกอบกับพฤติกรรมตามธรรมชาติที่มักจะนอนแช่อยู่ในน้ำซะเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ออกกำลังกาย  รวมถึงยังมีในเรื่องของขนาดตัวตามที่ใหญ่ตามพันธุกรรมและชั้นของผิวหนังที่หนาถึง 6 ซม. จึงทำให้ลักษณะตัวออกมาดูตุ้ยนุ้ย


วิ่ง เห็นฮิปโปโปเตมัสมีละกษณะลำตัวที่ดูสมบูรณ์แบบนี้ แต่รู้หรือไม่เมื่อโตเต็มวัยสามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ทั่วไปอีกนะ โดยมนุษย์ทั่วไปหากไม่ใช่นักกีฬาระดับลงแข่งโอลิมปิก จะวิ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ฮิปโปโปเตมัสทั่วไป สามารถทำความเร็วได้สูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ขณะที่ฮิปโปโปเตมัส จะวิ่งเร็วอยู่ที่ สูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


บินได้  ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ของสหราชอาณาจักรเผยผลการศึกษาพบว่า ฮิปโปโปเตมัสสามารถยกขาทั้งสี่ข้างขึ้นจากพื้นได้ขณะที่มันวิ่งด้วยความเร็วสูง ด้วยการวิเคราะห์จากวิดีโอที่บันทึกการเคลื่อนไหวของฮิปโปโปเตมัส 32 ตัว ในรอบการเคลื่อนไหว 169 รอบ และพบว่าฮิปโปโปเตมัสที่วิ่งเร็วที่สุดมีช่วงเวลาประมาณ 15% ที่ขาทั้งสี่ของมันสามารถลอยอยู่เหนือพื้นดิน


ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : 

องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

เพจ ZOO 101

africafreak.com


ขอบคุณภาพประกอบจาก : เพจ ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง


ชมการเดินทางไป หลงหมูเด้ง” กับ หลงรักไทย Lost in Thai Mystery”
อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล