X

ประเทศไทยก็เคย(มี)แรด

22 ก.ย. 2564
11160 views
ขนาดตัวอักษร

22 ..64 - 22 กันยายน ของทุกปี องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) รณรงค์ให้เป็น “วันแรดโลก” เพื่อให้ทั่วโลกร่วมกันอนุรักษ์แรด ไม่ให้ถูกล่า ในปัจจุบันถูกจัดอยู่ในบัญชีไซเตส ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งในไทยสัตว์ป่าตระกูลแรด อย่างกระซู่ เคยอาศัยในผืนป่าของไทยจำนวนหนึ่ง 


อย่างไรก็ตามจากข้อมูลทางด้านสัตว์ป่าเชื่อได้ว่ากระซู่ นั้นได้สูญพันธุ์จากป่าไทยไปแล้ว ไม่พบรายงานร่องรอยมาแล้วตั้งแต่ปี 2500

สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ข้อมูลว่าแรดทั่วโลกมี 5 ชนิด ได้แก่ แรดขาว แรดดำ แรดอินเดีย แรดชวา และกระซู่ ใน 5 ชนิดนี้ เมืองไทยเคยมี 2 ชนิด ได้แก่ แรดชวา และกระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ตาม ..สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า .. 2562 

แต่ปัจจุบันจากการสำรวจไม่พบประชากรของแรดชวา และกระซู่ ในผืนป่าไทยมามากกว่า 50 ปีแล้ว

แม้จะเคยมีข่าวพบร่องรอยของกระซู่ ในพื้นที่ของ ภูเขียว แก่งกระจาน เขาสก ฮาลา-บาลา


(กระซู่” : Ujung Kulon National Park / WWF)

ตามข้อมูลบางแห่ง รายงานหลักฐานชิ้นสุดท้ายเมื่อปี 2540 ที่พบร่องรอยของแรดสุมาตรา หรือกระซู่ บริเวณป่าฮาลา-บาลา พื้นที่รอยต่อจังหวัดยะลาและนราธิวาส แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมากพอที่จะมายืนยันได้ว่ากระซู่ยังคงมีอยู่ในผืนป่าของไทย ซึ่งหลังจากรายงานดังกล่าวนั้นก็ยังไม่ปรากฎข้อมูลใด  ที่ระบุได้ว่าเป็นการอยู่อาศัยของกระซู่ในป่าของไทยอีกเลย

ส่วนแรดชวานั้น ในผืนป่าไทย เหลือเพียงชื่อและข้อมูลในบทเรียน บทความวิชาการเท่านั้น


สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ระบุข้อมูลไว้อีกว่า แม้ปัจจุบันสัตว์ทั้งคู่จะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย แต่ยังต้องคงชื่อของสัตว์ป่าทั้ง 2 ไว้อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวน 

เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางกฎหมายคุ้มครองซาก หนัง นอ และผลิตภัณฑ์จากซากของทั้งคู่ ไม่ให้มีการลักลอบครอบครอง หรือเป้าหมายสำคัญ ป้องกันการล่าแล้วส่งซากต่อมายังประเทศไทย ซึ่งจะเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยตัดตอนปัญหาการล่า การค้า สัตว์ป่าของโลกให้ได้ผลที่สุดนั่นเอง

สำหรับสถานภาพในระดับโลก IUCN ยังถือว่าอยู่ในระดับ CR (Critically Endangered) คือสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ซึ่งปัจจัยมาจาก การลักลอบล่าเพื่อเอา “นอ” “กระดูก” ”เลือด

ปี 2560 WWF รายงานข้อมูลลจำนวนประชากรแรดทั่วโลก คาดว่าเหลืออยู่ประมาณ 30,000 ตัว

แบ่งเป็น ได้แก่ แรดอินเดีย ประมาณ 3,300 ตัว แรดดำ 5,000 ตัว แรดขาว 20,400 ตัว และแรดชวา อาจเหลือเพียง 44 ตัว ทั่วโลกเท่านั้น

แม้ในผืนป่าไทยแรด กระซู่ จะไม่มีเหลือให้คนรุ่นเรา ให้คนรุ่นหลังได้เห็นแล้ว แต่ยังสามารถไปชมแรดตัวเป็นๆ ได้ที่สวนสัตว์ขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่สวนสัตว์เชียงใหม่


ซึ่งที่สวนสัตว์เขียงใหม่ มีแรดสายพันธุ์อินเดียหนึ่งเดียวในประเทศไทย อายุ 34 ปี ชื่อว่า  กาลิ 

เป็นแรดดำอินเดียที่พระราชาธิบดีแห่งประเทศเนปาล น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ พระราชทานให้กับองค์การสวนสัตว์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 ก่อนจะถูกส่งมาดูแลที่สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยขณะนั้นกาลิมีอายุเพียง 1 ปี 2 เดือน น้ำหนักตัว 375 กิโลกรัม


ปัจจุบัน “กาลิ” ในอายุ 34 ปี ถือว่าอยู่ในวัยชรา เนื่องจากตามธรรมชาติแรดอินเดียจะมีอายุเฉลี่ยสูงสุดที่ 40 ปี 

โดยเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ ได้ดูแลอย่างดี ทำให้ กาลิ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอายุยืน 

ที่ผ่านมาสวนสัตว์เชียงใหม่พยายามเพาะขยายพันธุ์ แต่เนื่องจากกาลิมีอายุมากแล้วจึงไม่สามารถมีลูกได้อีกแล้วนั้นเอง

ทั้งนี้หากประชาชน ท่านใดที่อยากมีส่วนร่วมในการอุปถัมภ์สัตว์ชนิดต่างๆ ของสวนสัตว์ทั่วประเทศ สามารถร่วมทำบุญบริจาคเงินเข้าสมทบเข้ากองทุนองค์การสวนสัตว์ โดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาสัตว์ รวมถึงอุปกรณ์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตสัตว์ของสัตว์ป่าในสวนสัตว์ต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทางPage Facebook และ www.zoothailand.org. ขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

ทั้งนี้หากพบเห็นการลักลอบล่าค้าสัตว์ป่า โทรสายด่วน 1362 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ :

สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช > http://portal.dnp.go.th/Content?contentId=22242

องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย 

> http://www.zoothailand.org/ewtadmin/ewt/ubon_th/ewt_news.php?user=wm&nid=489

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล