X

รู้จัก “ลายสือไทย” อักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์

17 ม.ค. 2564
131640 views
ขนาดตัวอักษร

.

พูดถึงอักษรไทย แน่นอนว่าทุกคนก็ต้องรู้จักกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ แต่รู้ไหมคะว่า อักษรไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากครั้งที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ไปมากเลย ทั้งจำนวนพยัญชนะ สระ หรือแม้กระทั่งวิธีการเขียน วันนี้เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทีมงาน Backbone MCOT ขอพาทุกท่านย้อนวันวาน ไปทำความรู้จักกับ “ลายสือไทย” อักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ ต้นแบบของอักษรไทยในปัจจุบันกันค่ะ


ลายสือไทย คือ รูปแบบอักษรที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราช หรือจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1826 (มหาศักราช 1205) ข้อมูลนี้ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8-11 ว่า 

"...เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้..."



มีพยัญชนะ 39 ตัว และไม่มี 5 ตัว คือ ฌ ฑ ฒ ฬ ฮ




สระ มี 20 รูป

แบ่งเป็นสระลอย 1 รูป คือ สระอี และสระจม 19 รูป ดังภาพด้านล่าง


ส่วนวรรณยุกต์มีเพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก และโท



เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เห็นได้ชัดว่าพยัญชนะบางตัวก็ยังมองออกว่าคืออะไร แต่บางตัวนี่ก็ต่างจากเดิมไปมากเลยนะคะ เพราะหลายปีผ่านมา ภาษาไทยเราก็มีการเปลี่ยนแปลง มีพยัญชนะเพิ่มขึ้น สระ หรือแม้กระทั่งเสียงวรรณยุกต์ ก็ถือว่าเป็นเรื่องราวสนุก ๆ ที่เรานำมาเล่าให้ฟังเนื่องในโอกาสวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนะคะ

---

ขอบคุณข้อมูลมีประโยชน์จาก 

คู่มือการอ่านถ่ายถอดลายสือไทย (พ่อขุนรามคําแหงมหาราช) 

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล