X

"พิศวงหนวดแดง" เริ่มเบ่งบาน ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-รำลู่ พังงา

7 ก.ค. 2567
2430 views
ขนาดตัวอักษร
"พิศวงหนวดแดง" เริ่มแบ่งบานแล้ว ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-รำลู่ พังงา

พิศวงหนวดแดง : 𝙏𝙝𝙞𝙨𝙢𝙞𝙖 𝙜𝙖𝙧𝙙𝙣𝙚𝙧𝙞𝙖𝙣𝙖
อาจจะเป็นพิศวงชนิดที่พบเจอบ่อยครั้ง แต่ไม่ได้หาเจอได้ง่าย เป็นพืชกินซากขนาดเล็กอาศัยเชื้อรา โดยต้นพิศวงจะได้รับอาหารจากการย่อยสลายซากใบไม้กิ่งไม้โดยเชื้อราที่อาศัยอยู่ในต้นและพื้นดินโดยรอบ ใบลดรูปเหลือเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ไม่เป็นสีเขียวเหมือนพืชส่วนใหญ่ที่ใช้การสังเคราะห์ด้วยแสงผลิตอาหาร วงจรชีวิตส่วนใหญ่มีเพียงหัวหรือส่วนต้นใต้ดิน จะโผล่ดอกขึ้นมาให้เห็นบนพื้นป่าแค่ระยะเวลาสั้น ๆ
ในช่วงหน้าฝน จึงเป็นพืชที่ค่อนข้างลึกลับและพบได้ยาก ทั่วโลกพบพืชในวงศ์เดียวกันนี้ คือ Thismiaceae ประมาณ 60 ชนิด เฉพาะในพื้นที่ประเทศไทยพบแล้ว 14 ชนิดเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีใบคล้ายเกล็ด กลีบรวมมีจำนวน 6 กลีบเรียงเป็น 2 วง ขนาดเท่ากันหรือ 3 กลีบด้านในใหญ่กว่า เชื่อมติดกันคล้ายหมวกมีรูเปิด 3 ด้าน เกสรเพศผู้มี 3 เกสร รังไข่อยู่ใต้วงกลีบยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก ผลรูปถ้วย ปลายมียอดเกสรเพศเมียที่ติดทน เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ในประเทศไทยพบสกุลThismia ที่เป็นชนิดใหม่ของโลกจำนวนมาก

ขอบคุณภาพ : Sarawut Plongnui
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงาสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล