X
กุฎีเจ้าเซ็น  อยู่ที่ไหน

กุฎีเจ้าเซ็น  อยู่ที่ไหน

18 มิ.ย. 2567
990 views
ขนาดตัวอักษร

กุฎี มาจากภาษาเปอร์เซียและอาหรับ คำว่า "กะดีร์คุม" หมายถึง ตำบลอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ อาจมาจาก  "กะเต" ที่แปลว่า "พระแท่นที่ประทับ คำว่า "กุฎี" คงหมายถึงอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกันกับ "กุฎีเจ้าเซ็น" คือเป็นอาคารทรงตึกแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าและหลังคาทรงปั้นหยา จึงนิยมเรียกอาคารทรงตึกที่สร้างขึ้นในชั้นหลังๆ ว่า กุฎี เช่น กุฎีขาวหรือมัสยิดบางหลวง


กุฎีเจ้าเซ็น เป็นคำเรียก มัสยิดเจริญพาศน์ ที่ถนนอิสรภาพ ฝั่งธนบุรี เหตุที่ใช้คำเรียก กุฎี เป็นการเรียกตามอย่าง กรุงศรีอยุธยา จะเรียกศาสนสถานของมุสลิมนิกายชีอะฮ์ ว่า กุฎี มีการปรากฎใช้คำว่า กุฎี เรียกศาสนาสถานของศาสนาอิศลาม มีเฉพาะที่อยุธยาและธนบุรีเท่านั้น 


ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการฟื้นฟูศาสนาสร้างกุฎี ขึ้นหลายแห่ง ที่บันทึกไว้คือ กุฎีหลวงสร้างโดยพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) จุฬาราชมนตรีคนแรกในรัชกาลที่ 1 (ปัจจุบันคือ มัสยิดกุฎีหลวง ซอยพรานนก 11 บ้านช่างหล่อ)   กุฎีกลาง หรือ กุฎีล่าง สร้างโดยพระยาราชมนตรี (อากาหยี่) จุฬาราชมนตรีท่านที่สองในรัชกาลที่ 1 (ปัจจุบันคือ กุฎีเจริญพาศน์ ริมคลองบางหลวง ถนนอิศรภาพ)   และกุฎีปลายนา หรือ กุฎีนอก เป็นมุสลิม ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียปลายรัชกาลที่ 3 และสร้างมัสยิดขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 4 (ปัจจุบันคือ มัสยิดดินฟัลลาห์ ถนนอิสรภาพ) 


กุฎีเจ้าเซ็น คือ มัสยิดเจริญพาศน์ ดังนั้น กุฎี เจ้าเซ็นจึงมีอีกนามว่า กุฎีกลาง ปัจจุบัน กุฎีล่าง เปลี่ยนชื่อเป็น "กุฎีเจริญพาศน์"  ในสมัยรัชกาลที่ 6  ตามนามของสะพานเจริญพาศน์ 33 ที่เปิดเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456  


ที่ตั้งของกุฎีเจ้าเซ็น ตั้งอยู่ระหว่างวัดหงส์รัตนารามรามและวัดราชสิทธาราม สามารถเดินทางไปถึงง่ายๆด้วย MRT สายสีน้ำเงินขึ้นที่สถานีอิสรภาพ

Terms of Service © 2024 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)