X
รู้จักว่าที่ประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ ตัวแสบของจีน พร้อมสานต่อแนวทางเอกราชไต้หวัน แต่สหรัฐฯ ไม่เอาด้วย

รู้จักว่าที่ประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ ตัวแสบของจีน พร้อมสานต่อแนวทางเอกราชไต้หวัน แต่สหรัฐฯ ไม่เอาด้วย

15 ม.ค. 2567
740 views
ขนาดตัวอักษร

15 ม.ค. 67 - การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2567 ผลปรากฎว่า นายไล่ ชิง-เต๋อ จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ได้รับชัยชนะ ด้วยคะแนนเสียง 40.2% สูสีกับคู่แข่งจากพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) และพรรคประชาชนไต้หวัน (TPP) ที่ได้คะแนนร้อยละ 33 และ 26 ตามลำดับ โดยได้แรงสนับสนุนหลักมาจากคนรุ่นใหม่ 



สำหรับประวัติของว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน นายไล่ ชิง-เต๋อ เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2502 ในเขตว่านหลี่ เมืองนิวไทเป เขาเติบโตมาในครอบครัวที่มีแม่คอยเลี้ยงดูเพียงลำพัง เนื่องจากพ่อของไล่ชิงเต๋อเสียชีวิตในอุบัติเหตุที่เหมืองแร่เมื่อเขาอายุได้เพียงแค่ 2 ขวบ แต่ด้วยความเป็นคนเรียนดี ไล่ชิง-เต๋อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สาขาสาธารณสุขศาสตร์และต่อมาหลังจากยุคกฎอัยการศึกที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศไต้หวันของเจียงไคเช็ค นายไล่ได้ลงการเมืองเป็นครั้งแรก โดยได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2542 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2554-2557 ของประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน 



นายไล่ ชิง-เต๋อ เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนเอกราชของไต้หวันอย่างแข็งขัน และมีความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา โดยเขาได้ประกาศว่าจะสานต่อนโยบายของประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ในการผลักดันให้ไต้หวันมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก และรักษาสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของไต้หวัน ชัยชนะของนายไล่ ชิง-เต๋อ สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมของพรรค DPP ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ของไต้หวัน และความกังวลของชาวไต้หวันต่อสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและจีนที่ทวีความตึงเครียดมากขึ้น



สำหรับนโยบายหลักของไล่ ชิง-เต๋อ ในฐานะประธานาธิบดีไต้หวัน คือ สานต่อนโยบายของประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ในการผลักดันให้ไต้หวันมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก, รักษาสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของไต้หวัน ในฐานะรัฐอธิปไตยที่แยกจากจีนเสริมสร้างเศรษฐกิจของไต้หวัน เพื่อรองรับความท้าทายจากจีน , และนายไล่ ชิง-เต๋อ ประกาศว่าจะสานต่อนโยบายของประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ในการผลักดันให้ไต้หวันมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อแสดงว่าไต้หวันถือว่าเป็นรัฐเอกราชรัฐหนึ่งให้ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ นายไล่ ชิง-เต๋อ ยังให้ความสำคัญกับการรักษาสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของไต้หวันที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ในฐานะรัฐอธิปไตยที่แยกจากจีน โดยการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก



นายไล่ ชิง-เต๋อ จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการบริหารประเทศไต้หวัน ในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและจีนทวีความตึงเครียดมากขึ้น นอกจากนี้ นายไล่ ชิง-เต๋อ ยังต้องหาทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของไต้หวัน เพื่อให้ชาวไต้หวันมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม นายไล่ ชิง-เต๋อ มีประสบการณ์ทางการเมืองมายาวนาน และการเป็นนายแพทย์มาก่อนน่าจะทำให้นายไล่ชิง-เต๋อ ไม่น่าบุ่มบ่ามจนสร้างปัญหากับจีนในตอนนี้ เพราะเรื่องเศรษฐกิจไต้หวันนับว่ายังเป็นปัญหาอยู่  เนื่องจากก่อนหน้านี้คะแนนนิยมพรรค DPP นับว่าตกลงจากคราวที่ไช่อิงเหวินประธานาธิบดีคนเก่าลงชิงชัย ที่ได้คะแนนไปกว่า 57% สาเหตุสำคัญก็เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่แก้ไขไม่ได้นั่นเอง

และตัวละครสำคัญนอกจาก นาย ไล่ ชิง-เต๋อ คือ ทีมงานของเขาอนาคตรองประธานาธิบดีอย่าง นางเซียว เหม่ยฉิน อดีตทูตไต้หวันประจำวอชิงตัน ที่น่าจะเป็นตัวเชื่อมสำคัญของไต้หวัน - สหรัฐฯ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะแนวนโยบายด้านการต่างประเทศสายเหยี่ยวล้วนออกมาจากนางเป็นส่วนใหญ่



อย่างไรก็ตามแม้จะได้เป็นประธานาธิบดี แต่ก็ใช่จะราบลื่น เนื่องจากไม่ได้ครองเสียงในสภาล่าง โดยพรรคก๊กมินตั๋งได้ 52 ที่นั่งจากทั้งหมด 113 ที่นั่ง ส่วนพรรค DPP ได้ 51 ที่นั่ง ซึ่งลดลงจากเดิม 11 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาชนไต้หวันได้ 8 ที่นั่ง ทำให้การทำงานของนายไล่ชิง-เต๋ออาจจะทำได้ลำบากมากขึ้น

สำหรับท่าทีของจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่ง นายไล่ชิง-เต๋อ เคยได้รับฉายาว่าตัวปัญหาของจีน โดยเฉิน ปินหัว โฆษกสำนักงานกิจการไต้หวันแห่งคณะรัฐมนตรีจีน กล่าว  "จุดยืนของเราในการแก้ไขปัญหาไต้หวันและบรรลุการรวมชาติยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยปณิธานของเรานั้นแข็งแกร่งดังหินผา เราจะยึดถือฉันทามติ 1992 ที่กำหนดหลักการจีนเดียว และคัดค้านกิจกรรมแบ่งแยกดินแดนอันมุ่งเป้าที่ 'เอกราชไต้หวัน' รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ" 

ทางด้านของสหรัฐอเมริกาพันธมิตรหลักของไต้หวัน นายแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศ สหรัฐฯ กล่าวแสดงความยินดีต่อชัยชนะของนายไล่ ชิง-เต๋อ และรัฐบาลสหรัฐฯมุ่งมั่นที่จะรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ไปจนถึงการหาทางออกในเรื่องความแตกต่างอย่างสันติ และปราศจากการบีบบังคับหรือการกดดัน สหรัฐฯ หวังทำงานกับไต้หวันให้สอดคล้องกับหลักการจีนเดียวตามมุมมองของสหรัฐฯ ส่วนนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์รู้สึกแปลกใจไปตาม ๆ กัน แต่คาดว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ พูดเพราะไม่อยากมีปัญหากับจีนมากกว่า เพราะสหรัฐฯ เน้นย้ำเสมอว่าสนับสนุนนโยบายจีนเดียว



สำหรับอนาคตไต้หวันจะเป็นอย่างไร คาดว่าจะมีความตรึงเครียดมากขึ้น รวมทั้งนโยบายสายเหยี่ยวของรองประธานาธิบดีคนใหม่ ที่อาจจะมีบทบาทยิ่งกว่าตัวประธานาธิบดี ก็อาจจะทำให้บรรยากาศร้อนขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีคนใหม่น่าจะทำอะไรบุ่มบ่ามยาก เพราะสภาล่างแพ้จะออกกฎหมายอะไรก็ต้องระวังเป็นพิเศษ และอาจจะต้องตามผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลางปีนี้ด้วยซึ่งน่าจะส่งผลต่อไต้หวันอย่างมากเลยทีเดียว 



อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล