X
วช. ชูงานวิจัยพาไทยพ้นวิกฤตโควิด-19

วช. ชูงานวิจัยพาไทยพ้นวิกฤตโควิด-19

19 ก.พ. 2564
690 views
ขนาดตัวอักษร

กทม. 19 ..64 - สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ชู 10 ผลงานเด่นวิจัยไทย พาประเทศพ้นวิกฤตโควิด-19 และป้องกันผลกระทบสุขภาพประชาชน พร้อมเปิดตัวนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2564 หวังเป็นแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่สู่นักวิจัยระดับชาติในอนาคต


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลที่มอบให้นักวิจัยที่มีสัญชาติไทย ซึ่งได้อุทิศตนให้แก่การวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องในกลุ่มวิชาการหรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม เป็นผลงานวิจัยที่ทำสะสมกันมา

ไม่น้อยกว่า 5 ปี และเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้น  สร้างคุณูปการและเกิดประโยชน์ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยรุ่นหลัง


โดยในปีนี้ วชได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

โดยวันนี้ได้เปิดกิจกรรม “Kick off กิจกรรมเปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House) : 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564” เปิดตัว 1 นักวิจัย ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดรนายแพทย์วิปร วิประกษิต 


ซึ่งเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนเพื่องานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยศึกษาวิจัยทางด้านโลหิตวิทยาและธาลัสซีเมีย 

มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการวิจัยและแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อช่วยพัฒนาให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทางโลหิตวิทยาและโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียให้ดียิ่งขึ้น  โดยมีโครงการวิจัยที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการในปัจจุบันจำนวนมากเพื่อที่จะแสวงหาคำตอบและการพัฒนาการวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยในด้านอื่น  เพิ่มเติมต่อไป 


ผลจากการพัฒนาองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาการให้บริการการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียให้มีมาตรฐานสูงสุด ทำให้ศูนย์ธาลัสซีเมีย ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จนได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียนานาชาติ “สุลต่าน 

บิน คาลิฟา” (Sultan Bin Khalifa International Award : SITA) ในฐานะศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย


โดยนักวิจัยที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จะได้เหรียญรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ และเงินรางวัลในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 พฤษภาคม 2564  ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร


ดร.วิภารัตน์ กล่าวอีกว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้เปิดตัว 10 เรื่องเด่นวิจัยไทย ปี 2564 ส่วนหนึ่งในภารกิจขับเคลื่อนและบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตามเป้าหมายในด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม


1.ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา วชได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์ การวิจัยและการพัฒนา เพื่อสนับสนุนในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19


2. ผลงานสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมป้องกันโรคโควิด-19 ที่โดดเด่น เช่น ลักษณะทางพันธุกรรมและการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้สามารถจำแนกเชื้อไวรัสโควิด-19 จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว 


ปัญญาประดิษฐ์ในการประเมินการใส่หน้ากากอนามัยของประชาชนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19” ซึ่งนำระบบปัญญาประดิษฐ์มาใช้ประมวลผลภาพเคลื่อนไหว ในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์ที่ได้จากวงจรปิด เพื่อประเมินการใส่หน้ากากอนามัยของประชาชนที่สัญจรในสถานที่ต่าง  

เครื่องผลิตละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ นวัตกรรมฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยจาก COVID-19”  “ระบบบริการตู้อบฆ่าเชื้อไวรัสแบบไฮบริดควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับการให้บริการบริเวณสถานที่สาธารณะ” 


3.การมอบผลงานสนับสนุนการวิจัย และนวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบจากการขาดแคลนอุปกรณ์ 

-อุปกรณ์หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ทำจากซิลิโคน ชนิด N99 และหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศ (PAPR) 

นวัตกรรมเครื่องพ่นละอองนาโนน้ำยาฆ่าเชื้อ 

ชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (PAPR) 

4.วิจัยไทยใช้ได้จริง ผลงานวิจัยของนักวิจัยไทย สามารถนำไปใช้ได้จริงจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ศูนย์ข้อมูลฝุ่น PM 2.5 อย่างครบวงจรเครื่องมือตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก Dustboy, ธนาคารปูม้าทั่วประเทศระบบแพทย์ทางไกลสำหรับการดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้สูงอายุการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกและเครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุนเพื่อการจัดการผลผลิตทางการเกษตร 

5.โครงการวิจัยท้าทายไทย การวิจัยมุ่งเป้าขนาดใหญ่เพื่อประชาชน ที่ตอบโจทย์ท้าทายของสังคม อาทิ Zero Waste เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้โครงการท้าทายไทย ประเทศไทยไร้ขยะประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ แก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจร 

6.ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ ที่สาธารณรัฐเกาหลี รางวัลเกียรติยศ (Grand Prize) 1 ผลงาน จากผลงานเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสมือนผ่านแอปพลิเคชัน เรื่อง นวดแพทย์แผนไทยแบบราชสำนักสำหรับออฟฟิศซินโดรม ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

7.ข้อมูลสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ


8.การเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน โดยการนำเสนอในรูปแบบสารคดีกึ่งวิชาการ ในรูปของ  NRCT News เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อในแขนงต่าง  เพื่อถ่ายทอดและขยายผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมสู่ผู้ใช้ประโยชน์และสาธารณชน

9.ความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานต่าง  เน้นผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัยตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม ในการผลักดันงานวิจัยให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้


10.การมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในปี 2564 วชได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 ท่าน รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 42 รางวัล รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจำนวน 56 รางวัล 

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล